โครงการเสนอแนะการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน โรงพยาบาลเด็กกรุงเทพอุดร


ผู้แต่ง: ศวิตา สุวัฒน์ศรีสกุล 59011113058

สาขา: สถาปัตยกรรมภายใน

อาจารย์ที่ปรึกษา: จตุรงค์ ประเสริฐสังข์

ปีการศึกษา: 0

Keyword: 1. กุมารเวชศาสตร์ (อังกฤษ: pediatrics, paediatrics) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทางการแพทย์แก่ทารก, เด็ก, และวัยรุ่น กล่าวคือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 14-18 ปีขึ้นกับเกณฑ์ของแต่ละสถานที่และประเทศ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์จะเรียกว่า กุมารแพทย์ (pediatrician) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และแพทย์ประจำบ้านด้านกุมารเวชศาสตร์ แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยแพทยสภา 2. เด็ก หมายถึง ผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 0 – 12 ปี 3. หน่วยดูแลพิเศษสำหรับเด็กแรกเกิด NICU เป็นหน่วยดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ ที่ออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยแรกเกิดที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ภายในห้องมีอุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อการดูแล และเจ้าหน้าที่ทที่มีความชำนาญด้านการดูแลทารกแรกเกิด 4. เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เป็นคำที่ใช้เรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกประเภทไม่ได้เจาะจงไปที่เด็กประเภทใดประเภทหนึ่ง โดย กำรศึกษาค้นคว้าเด็กที่มีความต้องกำรพิเศษ จะทำให้เข้าใจถึงลักษณะ และประเภทของเด็กที่มีความต้องการ พิเศษทำงการศึกษาแต่ละประเภท อันจะเป็นแนวทางเพื่อให้สามารถจัดการศึกษา บำบัด ฟื้นฟู หรือให้ความ ช่วยเหลือที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของเด็กแต่ละประเภท และความแตกต่างระหว่างบุคคล 5. ผู้ป่วยใน (In-Patient-Department : IPD) หมายถึง ผู้ที่ลงทะเบียนเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลเวชกรรม ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์และให้รวมถึงการรับตัวไว้เป็นผู้ป่วยในแต่เสียชีวิตก่อน 6 ชั่วโมงด้วย 6. ผู้ป่วยนอก (Out-Patient-Department : OPD) คือผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสามารถกลับบ้านได้เลยในวันที่เข้ารับการรักษา 7. พัฒนาการเด็ก (Child Development) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงลักษณะและพฤติกรรมที่มีทิศทางและรูปแบบที่แน่นอน จากช่วงระยะเวลาหนึ่งไปสู่อีกระยะเวลาหนึ่ง ผ่านกระบวนการเรียนรู้ จนสู่วุฒิภาวะ ซึ่งก็คือ การบรรลุถึงขั้นการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ของบุคคลในระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง และพร้อมที่จะทำกิจกรรมอย่างนั้น ทำให้เพิ่มความสามารถของบุคคล ให้ทำหน้าที่ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำหน้าที่ที่สลับซับซ้อนยุ่งยากได้ ตลอดจนเพิ่มทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวต่อภาวะใหม่ของบุคคลนั้น 8. Physical Therapy หมายถึง กายภาพบำบัดในเด็ก เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ฝึกควบคุมการเคลื่อนไหว ฝึกการทรงตัวขณะนั่ง ยืน และฝึกเดินด้วยเทคนิคเฉพาะ เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเอง และทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ หรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด โดยมีทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ทีมนักกายภาพบำบัด ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ และมีประสบการณ์ด้านการรักษา และให้การรักษาทางกายภาพบำบัดในเด็กที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ ได้แก่ เด็กสมองพิการ เด็กคอเอียงแต่กำเนิด เด็กดาวน์ซินโดรม เด็กหัวโต หรือหัวบาตร เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า เด็กกล้ามเนื้อลีบดูเชน เด็กที่มีความผิดปกติที่เกิดจากการสร้างหลอดประสาทที่ไม่สมบูรณ์ 9. Antenatal Clinic หมายถึง คลินิกฝากครรภ์ สำหรับโรงพยาบาลเอกชนจะเป็นการฝากครรภ์พิเศษ คุณแม่สามารถระบุแพทย์เจ้าของครรภ์ได้ โดยคุณหมอจะดูแลไปตลอดจนถึงการคลอด รวมถึงการฝากครรภ์พิเศษที่คลินิก หากเป็นโรงพยาบาลรัฐ จะได้รับการดูแลจากแพทย์ทั่วไป และพยาบาล ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนตามเวร 10. โรงพยาบาลเฉพาะประเภทผู้ป่วย หมายความว่า โรงพยาบาลที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพ ตามลักษณะเฉพาะประเภทผู้ป่วย ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เช่น โรงพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง โรงพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลแม่และเด็ก และโรงพยาบาลบําบัดยาเสพติด เป็นต้น 11. ผู้ปกครอง หมายถึง บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับเด็ก โดยอยู่ร่วมกันในครอบครัวเดียวกัน และมีส่วนในการอบรมสั่งสอน และเตรียมความพร้อมให้แก่เด็ก

บทคัดย่อ

1 attachments Download all in PDF format